การฝึกตะโกนขอความช่วยเหลือ เป็นเรื่องสำคัญ

เหตการณ์ร้ายที่ปรากฏอยู่บนหน้าข่าวให้เห็นเป็นประจำนั้นองค์ประกอบ ที่สนับสนุนอุบัติให้เกิดเหตุขึ้นได้ เกิดจากอะไร

นอกจากการมีคนทำชั่วเป็นที่ตั้งขององค์ประกอบแล้ว
คุณสมบัติของเหยื่อเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ จะส่งผลได้ถึงระดับความสูญเสียและความร้ายแรงนั้นด้วย

ผู้คนมากมายโดยทั่วไปนิยม จัดหาปัจจัยต่างๆ มาไว้ใช้ ตามแต่จะคิดได้
ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาทำเลที่ปลอดภัย การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน การจัดหาอาวุธไว้ต่อสู้ หรือแม้แต่การจัดหาบุคคลมาคอยคุ้มภัย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว การฝึกฝนปฏิบัติตัวด้วยตัวของท่านเอง คือเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ท่านเอาตัวรอดได้จากนาทีคับขัน

การร้องขอความช่วยเหลือในขณะพยายาม หลีกเลี่ยงหนีเอาตัวรอดหรือแม้แต่ในขณะปักหลักหาทางป้องกันทรัพย์สินและคนรอบข้าง คือสัญชาติญาณพื้นฐานที่ง่ายที่สุดที่มนุษย์โดยทั่วไปจะคิดทำเป็นสิ่งแรก

 

แต่เชื่อหรือไม่ ว่ามีผู้มากมาย ในนาทีที่ตื้นเต้นคับขัน กลับตะโกนร้องขอความช่วยเหลือได้
อย่างด้อยประสิทธิภาพ

ส่วนหนึ่งเพราะขาดการฝึกฝน ขาดประสบการณ์ และขาดการสร้างแบบแผน

การขอความช่วยเหลือ สิ่งสำคัญเริ่มแรกนั่นก็คือการตั้งสติ พยายามหายใจให้เป็นจังหวะ รวบรวมจิตใจลดความสับสนกระวนกระวายให้ได้มากที่สุดที่จะทำได้
เมื่อตั้งสติได้แล้ว
ประโยคที่จะใช้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ควรเป็นประโยคที่ผู้รับ จะได้ยินข้อมูลถูกต้อง ใช้ถ้อยคำที่สามารถออกเสียงให้ผู้ได้ยิน นั้นได้ยินชัดเจน หลีกเลี่ยงคำศัพท์ ที่สามารถตีความไปในศัพท์อื่นได้หลายทาง

หลีกเลี่ยงประโยคที่ บ่งบอกเนื้อหาของสถานการณ์ได้ไม่ชัดเจน คลุมเครือ

หลีกเลี่ยงประโยคที่ยาวเกินไป พยายามสร้างประโยคที่กระชับและบ่งบอกถึงเนื้อหาของสถานการณ์ได้มากที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นของการสร้างประโยคนี่ล่ะคือประเด็นที่คนทั่วไปคิดได้ไม่ทันในนาทีสดๆนั้น!!!!

ดังนั้นในขณะที่สถานการณ์ปกติ ตัวคุณเองก็ควรที่จะเรียนรู้ แต่งสร้างประโยคที่ดี ขึ้นมาไว้ฝึก
รวมถึงถ่ายทอดให้คนในบ้านได้ใช้ประโยคนั้นด้วย

การตะโกนร้องว่า “ช่วยด้วย ช่วยด้วย ช่วยด้วย”
เป็นประโยคที่กระชับสั้น รวดเร็วรู้เรื่องดีที่สุด แต่มันเหมาะกับบางเหตุการณ์เหมาะกับบางภาวะแวดล้อมเท่านั้น

บางครั้งการตะโกนร้องว่า ช่วยด้วย
ในภาวะแวดล้อมอื่น อาจทำให้คนทั่วไปที่ยินเสียงนั้น เกิดความไม่แน่ใจว่าคือเหตการณ์ใด
เป็นผัวเมียทะเลาะกันหรือเปล่า? เล่นกันหรือเปล่า? หรืออาจชวนให้ไม่แน่ใจว่าคงมีใครแถวนั้นไปช่วยโดยที่ตัวเขาไม่จำเป็นต้องเร่งเข้าไปช่วยหรือเปล่า? กลายเป็นต้องตั้งใจฟัง แบบ งงๆ มึนๆลังเลว่าจะเอาไงดี ใช้เวลาในความลังเลจนไม่ทันเหตการณ์

การเรียนรู้ถึงที่ตั้งของผู้ที่จะช่วยเหลือคุณได้ เช่น ชื่อบุคคลของบ้านใกล้เรือนเคียง
การร้องขอไปที่ชื่อบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่กระตุ้นความฉับไวตื่นตัวได้ดี

หรือการตะโกนบอกเหตได้เข้าใจ ก็ยิ่งทำให้ความฉับไวในการตัดสินใจของผู้ช่วยเหลือเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการตะโกนด้วยคำว่า มีขโมย ,มีคนร้าย,

นอกจากนี้เรื่องของตำแหน่งที่เกิดเหตุก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน มีหลายกรณีที่ผู้ช่วยเหลือต้องเสียเวลาในการวิเคราะว่าเสียงขอความช่วยเหลือนั้นมาจากตรงไหน

ดังนั้นการตะโกนด้วยการระบุพิกัดลงไปในข้อความด้วยจะช่วยได้มากขึ้น เช่นตะโกนว่า ช่วยด้วยๆๆ บ้านลุงศรีมีคนร้าย ช่วยด้วยบ้านป้าแจ่ม มีคนร้าย ขโมย ขโมย
อย่างนี้เป็นต้น

แต่หากเป็นสถานการณ์ที่คับขัน เช่นว่าคนร้ายกำลังจะเข้าถึงตัว หรือกำลังวิ่งไล่ตามล่ะ?

หากคนร้ายนั้นเป็นคนที่คุณรู้จัก การตะโกนเอ่ยชื่อข้อมูลค้นร้าย คือสิ่งที่เกิดผลลัพท์ได้สามทาง
นั่นก็คือ การที่คนร้ายรีบหลบหนีและไม่ทำเรื่องร้ายแรงให้เพิ่มโทษแก่ตน หรือ การเร่งฆ่าปิดปาก หรือการเข้าทำร้ายเพราะตระหนักแล้วว่าอยู่ในหมู่บ้านนั้นไม่ได้อีกต่อไป จึงทำร้ายทิ้งท้าย

ศาสตร์ของการเลือกใช้วิธีใด มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาของสถานการณ์และการพิจารณาลักษณะนิสัยของตัวคนร้าย

แต่อย่างไรก็ตามหากปรากฏว่าเป็นเหตุการณ์ที่คอขาดบาดตาย เห็นว่าคนร้ายจะจัดการขั้นเด็ดขาดแน่ๆ การบอกชื่อคนร้าย คือการเดิมพันที่ดีที่สุด

การถูกเผยแพร่ชื่อออกไปแล้ว จะสร้างความลังเลใจต่อคนร้ายที่จะก่อเหตุการณ์ให้ร้ายแรงเพิ่มโทษให้แก่ตน

นอกจากนี้ในบางกรณีที่จำเป็นต้องใช้ประโยคที่สั้นที่สุด

การตะโกนว่า ช่วยด้วยขโมย,ช่วยด้วยมีโจรปล้น,ช่วยด้วยมีคนจะฆ่า ประโยคธรรมดาเหล่านี้ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเอ่ยได้กระชับเพียงแค่นี้
แต่สิ่งที่จะเพิ่มเติมประสิทธิภาพได้ดีที่สุด นั่นก็คือน้ำเสียงที่จริงจัง สร้างความรู้สึกให้ผู้ได้ยินเชื่อมากที่สุดว่าไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
อีกทั้งเรื่องของระดับเสียงตะโกน ก็เป็นอีกสิ่งที่มีผล ในเรื่องของความดังชัดเจน
แต่ทั้งนี้ปัญหามันก็คือ คนเรามีลักษณะทางเสียงแตกต่างมากหลายไม่เหมือนกัน
บางคนเป็นคนเสียงแหบ ตะโกนอะไรแล้วฟังยากอู้อี้ไม่รู้เรื่อง

บางคนเป็นคนเสียงเล็ก บางคนเป็นคนเสียงหยุมหยิมน่ารัก บางคนเป็นคนเสียงเนิบยืดยาด
และแบบอื่นๆอีกหลายประเภท

ดังนั้นเรื่องที่ควรทำ ก็คือ จงฝึกฝนกันไว้บ้าง ว่าเวลาที่จะต้องร้องขอความช่วยเหลือนั้น คุณจะฝึกฝนปรับสุ้มเสียงและระดับความดังของเสียงอย่างไร

ให้ตะโกนแล้ว ฟังรู้เรื่องที่สุด มีน้ำเสียงที่จริงจังน่าเชื่อถือที่สุด และ ดังชัดเจนที่สุด ทดสอบดูว่าต้องประมาณไหน

หากว่ามีการเพิ่มความดังควรดังที่ระดับไหนที่จะยังพอฟังรู้เรื่องได้ ก็ให้จดจำที่ระดับนั้น และค่อยๆฝึกให้สามารถดังได้พร้อมๆกับรู้เรื่องได้ มากที่สุด เพราะบางครั้งคนเราหากเน้นแต่จะเอาเสียงดังมากเกินไปมันอาจฟังไม่รู้เรื่อง

และนอกจากการฝึกตะโกนร้องขอความช่วยเหลือแล้ว คุณควรศึกษาด้วยว่าภายในบ้านของตัวเองนั้นจุดไหนคือจุดที่เดินไปตะโกนแล้วได้ยินกว้างที่สุด และส่งตรงเป้าหมายที่จะร้องขอความช่วยเหลือได้ดีที่สุด หากว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยังพอมีโอกาสเดินไปยังจุดนั้นได้

อีกทั้ง ควรฝึกการเรียบเรียงประโยค ในการพูดขอความช่วยเหลือทางโทรศัพท์ด้วย
ว่าพูดแบบไหน เกิดความน่าเชื่อถือพูดแบบไหน คือการให้ข้อมูลได้มากพอ และพอเพียงแก่ความง่ายในการจำของผู้รับ พูดแบบไหนจะได้รับการช่วยเหลือที่มาถึงจุดหมายได้อย่างฉับไว

ยิ่งถ้าคุณฝึกฝนในเรื่องนี้จะพบว่ามีอีกหลายรูปแบบที่ควรฝึก อย่างเช่นการต้องขอความช่วยเหลือทางโทรศัพท์ในลักษณะที่ต้องรักษาระดับเสียงแอบคนร้ายได้เบาที่สุด หรือแม้แต่การส่งเสียงกระซิบ กระซิบแบบไหนจะฟังง่ายที่สุดรู้เรื่องที่สุด เหล่านี้เป็นต้น

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).